การผ่อนคลายกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย

        เพื่อนๆทราบหรือไม่ครับว่า ขณะที่เราออกกำลังกายหนักๆ  หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าของเวลาปกติ  หัวใจต้องบีบตัวแรงขึ้นและเต้นเร็วขึ้นอาจถึง 2 เท่าของอัตราการเต้นของหัวใจปกติ และขณะที่เคลื่อน ไหวอยู่นั้น  กล้ามเนื้อซึ่งกำลังหดตัว ก็จะบีบไล่เลือดกลับสู่หัวใจเป็นวงจร  ช่วงที่มีการออกกำลังกายไปเรื่อยๆ  วงจรนี้ก็จะสมดุลอยู่  แต่ถ้าเราหยุดออกกำลังกายทันทีทันใด  กล้ามเนื้อหยุดหดตัวทันที  เลือดก็จะไหลกลับหัวใจไม่พอ  แต่หัวใจยังคงเต้นเร็วอยู่  หัวใจจะสูบฉีดเลือดออกไปได้ครั้งละน้อยๆ เกิดอาการขาดเลือดอย่างกะทันหัน  โดยเฉพาะเลือดที่จะไปเลี้ยงส่วนศีรษะ (สมอง) และตัวกล้ามเนื้อหัวใจเอง  ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นลม หรือหัวใจวายได้  โดยเฉพาะในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ

สำหรับวัยรุ่นอย่างเราๆก็ใช่ว่าจะไม่แสดงอาการอะไร  บางคนอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทันที  หรือตาพร่ามัวได้เหมือนกันนะครับ

ดังนั้น เราจึงต้องค่อยๆผ่อนการออกกำลังกายให้เบาลงเรื่อยๆ  เช่น  จากการเต้นแอโรบิคจังหวะเร็วๆ  ก็เปลี่ยนเป็นจังหวะที่ช้าลง  แต่ยังคงเคลื่อนไหวร่างกายต่อไปอีกระยะหนึ่ง

และนั่นคือ  ความสำคัญของ “การผ่อนคลายกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย”

การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือ “COOL DOWN” หมายถึง การค่อยๆลด หรือผ่อนการออกกำลังกายให้เบาลงทีละน้อยจนกระทั่งหายเหนื่อย ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจที่ทำงานหนักขณะออกกำลังกาย ได้ค่อยๆ ทำงานน้อยลงเรื่อยๆ จนกระทั่งกลับสู่ระดับปกติ เช่น ในการวิ่ง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะหมายถึงการลดความเร็วลงเรื่อยๆ จนเป็นเดินเร็วและเดินช้า หลังจากนั้นอาจทำการยืดกล้ามเนื้อต่ออีก 3 – 5 นาที เช่นเดียวกับ การอบอุ่นร่างกาย

ถ้าหากเราทำให้ครบวงรอบของการออกกำลังกาย คือ เริ่มต้นด้วยการอบอุ่นร่างกาย 5 – 10 นาที ออกกำลังกายเต็มที่ 15 – 30 นาที และผ่อนคลายกล้ามเนื้ออีก 5 -10 นาที  โดยทำให้ได้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เราก็จะมีสุขภาพกายที่แข็งแรง อันจะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จทั้งปวง

ที่มารูปภาพ : http://squash.org.au/nsw/development/cooldown.htm

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>