การเต้นแอโรบิค

 

 

 

 

 

ชีวิตที่มีความสุข  ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีสุขภาพกายดี  สุขภาพใจดี  การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรง  คล่องแคล่ว  กระฉับกระเฉง  อารมณ์สดชื่น  แจ่มใส  การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งใน  5 อ.  ที่แพทย์แนะนำเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ( 5 อ. ได้แก่  อาหาร  อากาศ  อารมณ์  อุจจาระ  และ  ออกกำลังกาย  อย่างไรก็ตาม  ไม่ใช่ทุกคนจะออกกำลังกายได้ทุกแบบ  เราต้องดูความชอบ  ความเหมาะสมต่อวัย  เพศ  และสมรรถนะของร่างกายขณะนั้นๆ  เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ  ไม่ใช่เพื่อการทำลายสุขภาพ

การออกกำลังกายที่ดีแบบหนึ่ง  คือการออกกำลังกายที่เรียกว่า  แอโรบิคเพราะการออกกำลังกายแบบนื้  จะมีการใช้กล้ามเนื้อ  ข้อต่อ  และมีการเพิ่มการทำงานของหัวใจ  ของระบบไหลเวียนโลหิตอย่างสม่ำเสมอ คงที่ในช่วงเวลาหนึ่ง  เมื่อเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  นั่นคือ  สุขภาพที่ดีของเราเอง

แอโรบิค แดนซ์(Aerobic Dance) หรือ แอโรบิคส์(Aerobics) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายยืดเหยียดประกอบจังหวะเพลงโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปกติจะเล่นกันเป็นกลุ่มโดยมีผู้นำและสามารถเล่นเป็นคนเดี่ยวโดยไม่มีเพลงประกอบได้

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%84

การเต้นแอโรบิค เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)  แล้วการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)   หมายถึงอะไร

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)   เป็นการออกกำลังกายที่ระยะเวลานานพอที่จะทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน   ทำให้หัวใจและปอดถูกกระตุ้นเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ขึ้นในร่างกาย การออกกำลังกายที่ถือว่าเป็นแอโรบิคนั้นมีองค์ประกอบ 4  อย่างคือ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ เช่น แขน ขา, หนักพอ, นานพอ และต้องทำติดต่อกัน

เป็นการออกกำลังกายแบบหนักพอ   คือให้ออกกำลังกายให้หนักประมาณ  70-75%  ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละบุคคล   ซึ่งจะดูได้จากการจับชีพจร (ที่ข้อมือหรือ ที่คอ) ชีพจรต้องเต้นจนถึงขนาดกำหนดตามอายุของแต่ละคน  (หากอายุมากขึ้น จะมีชีพจรสูงสุดในการทำงานลดลง)   จึงจะถือว่าการออกกำลังกายนั้นหนักพอ  ในการคำนวณหาความสามารถสูงสุด  =  220 – อายุ เช่นคนอายุ 25 ปี   มีความสามารถสูงสุด = 220-25 = 195 และ 70-75% ของ 195 = 136-140 ครั้ง ต่อนาที

เป็นการออกกำลังกายที่นานพอ  เมื่อรู้สึกว่าหนักพอแค่ไหนแล้ว  นานพอก็ง่ายขึ้น  คือเมื่อออกกำลังกายจนชีพจรขึ้นไปถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก็ทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ โดยคงชีพจรไว้อย่างน้อยระดับนี้  เป็นเวลา 15 – 20  นาทีก็ใช้ได้   ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนไปช่วยเผาผลาญให้เกิดพลังงานที่เรียกว่าแอโรบิคนั่นเอง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด๊านซ์

1.  สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น  ทำให้มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับกิจการงานโดยไม่เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย

2.  อาหารย่อยได้ดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจะหมดไป

3.  ขับถ่ายสบาย และท้องไม่ผูก

4.  นอนหลับง่าย และได้สนิทขึ้น

5.  ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาทอื่น ๆ

6.  ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่

7.  ทำให้ไม่อยากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

8.  สมรรถภาพทางเพศจะดีขึ้น

9.  ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุด

10.  ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง อารมณ์เยือกเย็นมั่นคงขึ้น

11.  ความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น

12.  สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น

13.  กระดูกแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม

14.  หัวใจแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ผลดีที่สุด

15. ช่วยฟื้นฟูสภาพหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดโคโรนารี่ ของหัวใจตีบตัน

http://www.srinagarind-hph.kku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=109:2011-12-23-02-32-27&catid=44:2011-06-13-02-42-42&Itemid=63/

ขั้นตอนการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

การเตรียมตัวเพื่อการเต้นแอโรบิค มีอยู่หลายประการด้วยกัน….

                                                                                                         

ข้อแรก สวมเสื้อผ้าให้กระชับพอดีตัว เพื่อความคล่องตัว

ข้อที่สอง อย่าสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดีพอ อับชื้น เป็นบ่อเกิดให้เป็นเชื้อราทางผิวหนังหรือสิวตามตัวได้

ข้อที่สาม ควรสวมรองเท้าผ้าใบและถุงเท้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้า

ข้อที่สี่ ควรเตรียมน้ำ 1 ขวด เอาไว้ดื่มแก้กระหายในเวลาพักแต่ละช่วง เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ เพราะอาจจะช็อกได้

ข้อที่ห้า ควรเตรียมผ้าขนหนู 1 ผืนเอาไว้ซับเหงื่อ

ข้อที่หกควร งดรับประทานอาหารก่อนการเต้นแอโรบิค 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากอาจทำให้จุก เสียดและอาเจียน ขณะเต้นแอโรบิคได้

ข้อสุดท้าย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบความพร้อมของร่างกายและขอคำปรึกษาก่อนเริ่มเต้นในครั้งแรกๆ เนื่องจากการเต้นแอโรบิคอาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ถือว่าหนักเกินไป สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ หรือท่าบริหารบางท่าอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บได้ เช่น ท่ากระโดด เมื่อข้อเข่าของท่านไม่แข็งแรงอาจได้รับบาดเจ็บได้….

ขั้นตอนแรก เริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ก่อนที่จะมาลีลาท่าทางในการเต้นแอโรบิค ต้องมีการวอร์มร่างกายก่อน โดยการเดินอุ่นเครื่องสัก 3 – 5 นาที และแกว่งแขนสะบัดไปมา ให้กล้ามเนื้อตื่นก่อน

ขั้นตอนต่อมา การเต้นแอโรบิค(Aerobic) เริ่มออกลีลาท่าทางในการเต้นให้ร่างกายได้ขยับครบทุกสัดส่วนได้เลย ส่วน

ขั้นตอนสุดท้าย การผ่อนคลาย (Cool Down) หลังจากที่ออกลีลากันไปเต็มที่แล้ว ก่อนจะกลับไปพักผ่อน ควรมีการคลายกล้ามเนื้อให้เข้าที่ด้วยการเหยียดแขน-ขา และบิดตัวไปมาสัก 3 – 5 นาที เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ

http://http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=25&id=18464

ตัวอย่างท่าเต้นแอโรบิค

มาดูคลิปตัวอย่างท่าเต้นแอโรบิค สามารถทำตามท่าเต้นแอโรบิคกันได้เลย เต้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงยิ่งขึ้น และสามารถคลายเครียดได้ด้วย เป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก วิธีนี้สามารถทำเองที่บ้านก็ได้ แต่ถ้าอยากเจอเพื่อนๆก็สามารถนัดกันมาเต้นหลายๆคน ก็ช่วยให้สนุกยิ่งขึ้น

http://youtu.be/svg-nnbapuk

                     

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>