Monthly Archives: February 2013

การออกกำลังกายแบบไหนที่เรียกว่า “แอโรบิค”

การออกกำลังกายแบบไหนที่เรียกว่า “แอโรบิค”

การออกกำลังกายมีหลายวิธี  แต่ละคนชอบกีฬากันไปคนละแบบ บางคนชอบเตะบอล  บางคนชอบเล่นบาส  บางคนชอบชกมวย  บางคนชอบเตะตะกร้อ ฯลฯ

การออกกำลังกายแบบไหนที่เป็นแอโรบิค

        ขอกลับไปที่คำจำกัดความอีกครั้งนะครับ  ต้องเป็นการออกกำลังกายที่หนักพอ  นานพอ และบ่อยพอที่จะทำให้เกิด เทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์  นั่นคือ  มีการฝึก ปอด หัวใจ และระบบหลอดเลือดด้วย  จะเห็นว่า กีฬาบางอย่างไม่เป็น “แอโรบิค” แน่ๆ  เช่น  การวิ่ง 100 เมตร  พุ่งแหลน  ยกน้ำหนัก (แบบที่แข่งขันกันในโอลิมปิก)   กีฬาพวกนี้ ออกกำลังแป๊บเดียว ใช้ความหนักพอ  แต่ไม่นานพอให้เกิดเทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์ 

        ที่นี้ ขอยกตัวอย่างการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ดังนี้ ครับ

  1. ว่ายน้ำ

                    

การว่ายน้ำใช้กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย  บาดเจ็บน้อยเพราะน้ำช่วยพยุงร่างกาย คุณสมบัติพิเศษของน้ำอีกอย่าง ก็คือ  น้ำต้านทานการเคลื่อนไหวได้มาก-น้อยตามต้องการ  ถ้าเราเคลื่อนไหวแขนขาแรงมาก  แรงต้านทานของน้ำก็มาก  แต่ถ้าเราเคลื่อนไหวแขนขาช้าลง  แรงต้านทานของน้ำก็ลดลงด้วย   ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติที่พิเศษมาก  และเพื่อให้เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

ต้องว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องนานกว่า 15 นาที ไม่ต้องว่ายเร็วนัก แต่ต้องต่อเนื่อง

ว่ายน้ำรอบหนึ่งแล้วหยุดพักเหนื่อยไป 5 นาทีนี่ใช้ไม่ได้นะครับ  แล้วไปว่ายบ่อยๆนะครับ

  1. การวิ่ง

                      

 การวิ่งนี่เริ่มได้ง่ายนะครับ  ประหยัดด้วย  แค่คิดจะวิ่ง ก็ใส่รองเท้าผ้าใบวิ่งรอบๆบ้านก็ได้แล้ว  ไม่ต้องหาสนาม  แต่ก็ควรเป็นบริเวณที่อากาศดีๆหน่อยนะครับ  ถ้าต้องวิ่งในที่ๆมีการจราจรแออัดก็ไม่ดีแน่  ได้ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์  คาร์บอนมอนนอกไซด์ และยังฝุ่นควันอีก  แทนที่จะได้สุขภาพที่ดี  กลับจะยิ่งป่วยง่ายขึ้นไปอีก  หลักการแอโรบิคก็เหมือนกัน  คือ ต่อเนื่อง  นานพอ  หนักพอและบ่อยพอ

  1. การถีบจักรยาน

                        

การถีบจักรยานไปตามสวนสาธารณะก็เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ดี เพราะนอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว  ยังได้พักผ่อนหย่อนใจด้วย  แต่ถ้าไม่มีเวลาในช่วงเช้า – เย็น การถีบจักรยานแบบตั้งพื้นก็สะดวกและได้ประโยชน์ไม่แพ้กัน  เน้นว่า นานพอ  หนักพอและบ่อยพอ  เช่นกัน

  1. การเดิน

                      

วิธีนี้ ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก  เพราะเราเดินกันทุกวันอยู่แล้ว  แค่เดินให้เร็วขึ้น(จนได้ชีพจรถึงอัตราเป้าหมาย – หนักพอ) นานขึ้น  และ บ่อยๆ  ขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์ ก็ได้ประโยชน์และช่วยลดโลกร้อนด้วยครับ

  1. การเต้นแอโรบิค

                       

การเต้นแอโรบิคนี่ ผมชอบมากเพราะสนุกมาก  ไม่น่าเบื่อ เราดัดแปลงท่าเต้นได้เรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ  เปลี่ยนเพลงประกอบการเต้นได้บ่อยๆ  จะเต้นคนเดียวในบ้าน หรือไปเต้นกับเพื่อนๆในสวนสาธารณะก็ย่อมได้

  1. การยกน้ำหนักอย่างต่อเนื่อง

                     

เดิม การยกน้ำหนักไม่ใช่การออกกำลังกายแบบแอโรบิค  แม้จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีกำลังมาก  แต่ไม่มี “เทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์” คือ ไม่ช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรงขึ้น

ปัจจุบัน มีการดัดแปลงโดยให้ยกน้ำหนักอย่างต่อเนื่องนานอย่างน้อย 20 นาที  ให้หนักพอที่หัวใจจะเต้นเร็วถึงอัตราเป้าหมาย และทำสัปดาห์ละ 3-5 วัน ตามแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิค  จนเป็นที่นิยมอย่างมาก

    ยังมีการออกกำลังกายแบบอื่นๆอีกมากที่เพื่อนๆสามารถดัดแปลงให้เป็น การออกกำลังกายแบบแอโรบิคได้   ลองฝึกดูตามความชอบของเพื่อนๆนะครับ

   ขอย้ำเพียงว่า  สำคัญที่ “หนักพอ นานพอและบ่อยพอ” นะครับ

 

สวัสดีครับ

 

 

 

ความหมายของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

เราพูดถึงการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกันมาบ้างแล้ว   ตอนนี้เรามาหารายละเอียดกันอีกสักนิดนะครับ ว่า   การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้ หมายถึงการออกกำลังกายอย่างไรกันแน่   ทำอย่างไรถึงจะเป็นแอโรบิค

        นายแพทย์ เคนเน็ธ  คูเปอร์  หนึ่งในผู้ริเริ่มใช้คำว่า “แอโรบิค” กับการออกกำลังกาย  ท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “การออกกำลังกายแบบแอโรบิค” เป็นการออกกำลังกายที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากและต้องทำติดต่อกันเป็นเวลาค่อนข้างนาน ซึ่งจะมีผลให้ระบบการทำงานของหัวใจ  ปอด  หลอดเลือด  และการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น  และมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ซึ่ง นพ. คูเปอร์ เรียกผลที่เกิดขึ้นนี้ว่า “เทรนนิ่ง  เอฟเฟ็กต์” (training  effect)

                                                 

http://www.quipper.com/en/aerobics-class-quiz/other-name-for-aerobic-gymnastics-is?hl=th

           จากคำจำกัดความนี้  จะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้  ไม่เพียงเป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น  แต่เน้นการฝึก ปอด  หัวใจ  และระบบหลอดเลือด ให้ปรับตัวเพื่อรับงานหนักได้เป็นเวลานาน

        ถึงตอนนี้  สงสัยหรือไม่ครับว่า  คำว่า  เป็นเวลานานนี้  ต้องนานแค่ไหน

        คำตอบก็คือ  ต้องนานพอที่จะเกิด เทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์ ซึ่งก็คือ ต้องการออกกำลังกายติดต่อกัน เน้นนะครับว่า ต้องติดต่อกันเป็นเวลา 15 ถึง 45 นาที  แล้วแต่สมรรถนะของร่างกายในขณะนั้น และต้องให้บ่อยพอ  คือ ประมาณสัปดาห์ละ 3 ถึง 5 ครั้ง  แถมอีกนิด  ต้องหนักพอด้วยนะครับ คือต้องออกกำลังกายจนหัวใจ เต้นเร็วขึ้นจนถึงอัตราเป้าหมาย (target  heart  rate)   ฟังดูไม่รู้เรื่อง ที่จริงก่อนหน้านี้ เราพูดกันไว้บ้างแล้ว แต่เอาไว้คราวหน้า  เรามาแจกแจงกันอีกทีดีกว่านะครับ  สำหรับตอนนี้ เอาง่ายๆว่า  เราออกกำลังกายให้รู้สึกเหนื่อยนิดๆ  หอบหน่อยๆ ก็ใช้ได้แล้วครับ ถ้าหอบจนตัวโยน นั่นมากไปแล้วครับ  ต้องผ่อนแรงลงก่อนที่จะเกิดหน้ามืดไปซะก่อนนะครับ

        ไว้พบกันคราวหน้านะครับ

 

ประวัติความเป็นมาของแอโรบิคในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย  แน่นอน  เราทราบกันดีว่าคุณแม่ของเรามีการออกกำลังกายแบบนี้กันแล้ว  แต่สมัยคุณยายยังสาวล่ะครับ  เขาเต้นแอโรบิคกันหรือยัง  ไปดูกันครับ

                                          

 ในระหว่างปี พ. ศ. 2518  ได้มีกลุ่มนักธุรกิจเปิดสถานบริหารร่างกายขึ้น ซึ่งบริหารโดยคนไทย ในระยะแรก  วิธีการสอนการออกกำลังกายสำหรับประชาชนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมนั้น  เป็นวิธีการบริหารร่างกายดังกล่าว ต่อมา ได้มีวิทยากร ชื่อ  อาจารย์สุกัลยา  มุสิกวันได้เข้าไปเป็นวิทยากรและเห็นว่า กิจกรรมที่จัดให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมบริหารร่างกายนั้นไม่เพียงพอกับการเสริมสร้างสมรรถภาพเท่าใดนัก

ในปี พ.ศ. 2519   อาจารย์สุกัญยา  มุสิกวัน จึงได้จัดกิจกรรมชื่อว่า Slimnastic  ซึ่งมาจากคำว่า Slim + Gymnastic  ซึ่งเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายประกอบเพลง เป็นเครื่องมือในการออกกำลังกายสำหรับสมาชิก อันทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินมากขึ้น กิจกรรมดังกล่าว ได้เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรีเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายเพื่อลดสัดส่วนของร่างกาย ในปี พ.ศ. 2522  อาจารย์สุกัญยา  มุสิกวัน   (พานิชเจริญนาม) ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น  และได้เดินทางกลับมา ในปี พ.ศ. 2526  ได้เล็งเห็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Slimnastic  ควรเป็นไปในรูปแบบแอโรบิค แดนซ์  เหมือนสากล  จึงได้เริ่มสอนและได้จัดอบรมให้ผู้ที่สนใจและลูกศิษย์  ให้นำไปเผยแพร่ทั่วประเทศ  โดยจัดในรูปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 130 คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ   และนับจากปี 2526  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  แอโรบิค แดนซ์จึงเป็นกิจกรรมที่แพร่หลาย  และมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพลศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  และด้านเอกชน  ก็เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปฝึกร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความอดทนและได้มาซึ่งรูปร่างที่ดี

                                           

 http://aerobicdanceproject.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2-2/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97/

ความจริง  การเต้นแอโรบิคในประเทศไทยก็เพิ่งเริ่มหลังในต่างประเทศไม่นานนักนะครับ   แสดงให้เห็นว่า  โลกในยุคใหม่นี้ มีการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนจริงๆ  สุขภาพของเราก็เช่นเดียวกัน  เราสร้างสรรได้อย่างไร้พรมแดนเช่นกัน

ประวัติความเป็นมาของการเต้นแอโรบิค

 เป็นยังไงบ้างครับ  เพื่อนๆได้ดูตัวอย่างการเต้นแอโรบิคแล้วหรือยังครับ  ไม่ยากนะครับ   คราวนี้อยากทราบไหมครับว่า   การเต้นแอโรบิคมีความเป็นมาอย่างไร  เขาเริ่มเต้นแอโรบิคกันตั้งแต่เมื่อไหร่

แอโรบิค เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 30 ปี ที่แล้ว โดย DR. Kenneth H.Cooper ได้เขียนเป็นตำรา ชื่อ  AEROBICS  ซึ่งกล่าวว่า AEROBICS EXERCISE หมายถึง การออกกำลังกายที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สัมพันธ์กันระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับปอด  มีการใช้ออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้

ดังนั้นการเต้นแอโรบิค (AREOBIC DANCING) จึงนับเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิคอีกชนิดหนึ่ง                                        

                                        

เบื้องหลังความสำเร็จของการเต้นแอโรบิคได้รับการกล่าวถึงเป็นหนังสือ ชื่อ Aerobic Dancing โดย Jacki Sorensen ว่า กีฬาเต้นแอโรบิค   ได้รับความนิยมสูงสุดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจัดให้มีการเต้นแอโรบิคภายในสตูดิโอหรือ โรงยิม   โดยรับเอาต้นแบบการเต้นแอโรบิคประกอบดนตรีแบบอาหรับ   จากนั้นกีฬาการเต้นแอโรบิคปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเข้ากับจังหวะดนตรีในปัจจุบันด้วยวิธีนับจังหวะ บีทเพลง  จึงทำให้การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิคทันสมัยและสนุกสนานอยู่เสมอ

ประสิทธิภาพจากการเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ทั่วโลกเกี่ยวกับทางด้านพัฒนาสุขภาพเกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อ, หัวใจ, ปอด เทียบเท่ากับการเล่นกีฬาวิ่งจ๊อกกิง, ว่ายน้ำ, หรือการเดินขึ้นบันได    จึงไม่น่าแปลกเมื่อกีฬาเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส  รวมทั้งประเทศไทย   ความแรงของกีฬาเต้นแอโรบิคได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลกนี่เอง  ทำให้การเต้นแอโรบิคไม่มีท่าเฉพาะที่แน่นอน   แต่หลักมาตรฐานสากลนั้น   กำหนดให้ท่าเต้นต้อง นับให้เข้ากับจังหวะบีทเพลงหรือตัวโน้ตดนตรี  ส่วนกีฬาเต้นแอโรบิคที่ประเทศไทยนั้นเลือกใช้ท่าเต้นที่นับตามจังหวะ 1 – 2 – 3 – 4 – 5 – 6 – 7 – 8  เท่านั้นเพราะจะช่วยให้การเต้นแอโรบิคเป็นไปได้ง่ายกว่า

http://papan.activeboard.com/t32630504/topic-32630504/

การเต้นแอโรบิค

 

 

 

 

 

ชีวิตที่มีความสุข  ส่วนหนึ่งมาจากการที่มีสุขภาพกายดี  สุขภาพใจดี  การออกกำลังกายมีส่วนช่วยให้ร่างกายแข็งแรง  คล่องแคล่ว  กระฉับกระเฉง  อารมณ์สดชื่น  แจ่มใส  การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งใน  5 อ.  ที่แพทย์แนะนำเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ( 5 อ. ได้แก่  อาหาร  อากาศ  อารมณ์  อุจจาระ  และ  ออกกำลังกาย  อย่างไรก็ตาม  ไม่ใช่ทุกคนจะออกกำลังกายได้ทุกแบบ  เราต้องดูความชอบ  ความเหมาะสมต่อวัย  เพศ  และสมรรถนะของร่างกายขณะนั้นๆ  เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ  ไม่ใช่เพื่อการทำลายสุขภาพ

การออกกำลังกายที่ดีแบบหนึ่ง  คือการออกกำลังกายที่เรียกว่า  แอโรบิคเพราะการออกกำลังกายแบบนื้  จะมีการใช้กล้ามเนื้อ  ข้อต่อ  และมีการเพิ่มการทำงานของหัวใจ  ของระบบไหลเวียนโลหิตอย่างสม่ำเสมอ คงที่ในช่วงเวลาหนึ่ง  เมื่อเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  นั่นคือ  สุขภาพที่ดีของเราเอง

แอโรบิค แดนซ์(Aerobic Dance) หรือ แอโรบิคส์(Aerobics) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายยืดเหยียดประกอบจังหวะเพลงโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปกติจะเล่นกันเป็นกลุ่มโดยมีผู้นำและสามารถเล่นเป็นคนเดี่ยวโดยไม่มีเพลงประกอบได้

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%84

การเต้นแอโรบิค เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)  แล้วการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)   หมายถึงอะไร

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise)   เป็นการออกกำลังกายที่ระยะเวลานานพอที่จะทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน   ทำให้หัวใจและปอดถูกกระตุ้นเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ขึ้นในร่างกาย การออกกำลังกายที่ถือว่าเป็นแอโรบิคนั้นมีองค์ประกอบ 4  อย่างคือ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ เช่น แขน ขา, หนักพอ, นานพอ และต้องทำติดต่อกัน

เป็นการออกกำลังกายแบบหนักพอ   คือให้ออกกำลังกายให้หนักประมาณ  70-75%  ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละบุคคล   ซึ่งจะดูได้จากการจับชีพจร (ที่ข้อมือหรือ ที่คอ) ชีพจรต้องเต้นจนถึงขนาดกำหนดตามอายุของแต่ละคน  (หากอายุมากขึ้น จะมีชีพจรสูงสุดในการทำงานลดลง)   จึงจะถือว่าการออกกำลังกายนั้นหนักพอ  ในการคำนวณหาความสามารถสูงสุด  =  220 – อายุ เช่นคนอายุ 25 ปี   มีความสามารถสูงสุด = 220-25 = 195 และ 70-75% ของ 195 = 136-140 ครั้ง ต่อนาที

เป็นการออกกำลังกายที่นานพอ  เมื่อรู้สึกว่าหนักพอแค่ไหนแล้ว  นานพอก็ง่ายขึ้น  คือเมื่อออกกำลังกายจนชีพจรขึ้นไปถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก็ทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ โดยคงชีพจรไว้อย่างน้อยระดับนี้  เป็นเวลา 15 – 20  นาทีก็ใช้ได้   ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนไปช่วยเผาผลาญให้เกิดพลังงานที่เรียกว่าแอโรบิคนั่นเอง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ด๊านซ์

1.  สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น  ทำให้มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับกิจการงานโดยไม่เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย

2.  อาหารย่อยได้ดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจะหมดไป

3.  ขับถ่ายสบาย และท้องไม่ผูก

4.  นอนหลับง่าย และได้สนิทขึ้น

5.  ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาทอื่น ๆ

6.  ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่

7.  ทำให้ไม่อยากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

8.  สมรรถภาพทางเพศจะดีขึ้น

9.  ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุด

10.  ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง อารมณ์เยือกเย็นมั่นคงขึ้น

11.  ความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น

12.  สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น

13.  กระดูกแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม

14.  หัวใจแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ผลดีที่สุด

15. ช่วยฟื้นฟูสภาพหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดโคโรนารี่ ของหัวใจตีบตัน

http://www.srinagarind-hph.kku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=109:2011-12-23-02-32-27&catid=44:2011-06-13-02-42-42&Itemid=63/

ขั้นตอนการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

การเตรียมตัวเพื่อการเต้นแอโรบิค มีอยู่หลายประการด้วยกัน….

                                                                                                         

ข้อแรก สวมเสื้อผ้าให้กระชับพอดีตัว เพื่อความคล่องตัว

ข้อที่สอง อย่าสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดีพอ อับชื้น เป็นบ่อเกิดให้เป็นเชื้อราทางผิวหนังหรือสิวตามตัวได้

ข้อที่สาม ควรสวมรองเท้าผ้าใบและถุงเท้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้า

ข้อที่สี่ ควรเตรียมน้ำ 1 ขวด เอาไว้ดื่มแก้กระหายในเวลาพักแต่ละช่วง เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ เพราะอาจจะช็อกได้

ข้อที่ห้า ควรเตรียมผ้าขนหนู 1 ผืนเอาไว้ซับเหงื่อ

ข้อที่หกควร งดรับประทานอาหารก่อนการเต้นแอโรบิค 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากอาจทำให้จุก เสียดและอาเจียน ขณะเต้นแอโรบิคได้

ข้อสุดท้าย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบความพร้อมของร่างกายและขอคำปรึกษาก่อนเริ่มเต้นในครั้งแรกๆ เนื่องจากการเต้นแอโรบิคอาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ถือว่าหนักเกินไป สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ หรือท่าบริหารบางท่าอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บได้ เช่น ท่ากระโดด เมื่อข้อเข่าของท่านไม่แข็งแรงอาจได้รับบาดเจ็บได้….

ขั้นตอนแรก เริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ก่อนที่จะมาลีลาท่าทางในการเต้นแอโรบิค ต้องมีการวอร์มร่างกายก่อน โดยการเดินอุ่นเครื่องสัก 3 – 5 นาที และแกว่งแขนสะบัดไปมา ให้กล้ามเนื้อตื่นก่อน

ขั้นตอนต่อมา การเต้นแอโรบิค(Aerobic) เริ่มออกลีลาท่าทางในการเต้นให้ร่างกายได้ขยับครบทุกสัดส่วนได้เลย ส่วน

ขั้นตอนสุดท้าย การผ่อนคลาย (Cool Down) หลังจากที่ออกลีลากันไปเต็มที่แล้ว ก่อนจะกลับไปพักผ่อน ควรมีการคลายกล้ามเนื้อให้เข้าที่ด้วยการเหยียดแขน-ขา และบิดตัวไปมาสัก 3 – 5 นาที เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ

http://http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=25&id=18464

ตัวอย่างท่าเต้นแอโรบิค

มาดูคลิปตัวอย่างท่าเต้นแอโรบิค สามารถทำตามท่าเต้นแอโรบิคกันได้เลย เต้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงยิ่งขึ้น และสามารถคลายเครียดได้ด้วย เป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก วิธีนี้สามารถทำเองที่บ้านก็ได้ แต่ถ้าอยากเจอเพื่อนๆก็สามารถนัดกันมาเต้นหลายๆคน ก็ช่วยให้สนุกยิ่งขึ้น

http://youtu.be/svg-nnbapuk