ความหมายของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

เราพูดถึงการออกกำลังกายแบบแอโรบิคกันมาบ้างแล้ว   ตอนนี้เรามาหารายละเอียดกันอีกสักนิดนะครับ ว่า   การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้ หมายถึงการออกกำลังกายอย่างไรกันแน่   ทำอย่างไรถึงจะเป็นแอโรบิค

        นายแพทย์ เคนเน็ธ  คูเปอร์  หนึ่งในผู้ริเริ่มใช้คำว่า “แอโรบิค” กับการออกกำลังกาย  ท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “การออกกำลังกายแบบแอโรบิค” เป็นการออกกำลังกายที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากและต้องทำติดต่อกันเป็นเวลาค่อนข้างนาน ซึ่งจะมีผลให้ระบบการทำงานของหัวใจ  ปอด  หลอดเลือด  และการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น  และมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ซึ่ง นพ. คูเปอร์ เรียกผลที่เกิดขึ้นนี้ว่า “เทรนนิ่ง  เอฟเฟ็กต์” (training  effect)

                                                 

http://www.quipper.com/en/aerobics-class-quiz/other-name-for-aerobic-gymnastics-is?hl=th

           จากคำจำกัดความนี้  จะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิคนี้  ไม่เพียงเป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกเท่านั้น  แต่เน้นการฝึก ปอด  หัวใจ  และระบบหลอดเลือด ให้ปรับตัวเพื่อรับงานหนักได้เป็นเวลานาน

        ถึงตอนนี้  สงสัยหรือไม่ครับว่า  คำว่า  เป็นเวลานานนี้  ต้องนานแค่ไหน

        คำตอบก็คือ  ต้องนานพอที่จะเกิด เทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์ ซึ่งก็คือ ต้องการออกกำลังกายติดต่อกัน เน้นนะครับว่า ต้องติดต่อกันเป็นเวลา 15 ถึง 45 นาที  แล้วแต่สมรรถนะของร่างกายในขณะนั้น และต้องให้บ่อยพอ  คือ ประมาณสัปดาห์ละ 3 ถึง 5 ครั้ง  แถมอีกนิด  ต้องหนักพอด้วยนะครับ คือต้องออกกำลังกายจนหัวใจ เต้นเร็วขึ้นจนถึงอัตราเป้าหมาย (target  heart  rate)   ฟังดูไม่รู้เรื่อง ที่จริงก่อนหน้านี้ เราพูดกันไว้บ้างแล้ว แต่เอาไว้คราวหน้า  เรามาแจกแจงกันอีกทีดีกว่านะครับ  สำหรับตอนนี้ เอาง่ายๆว่า  เราออกกำลังกายให้รู้สึกเหนื่อยนิดๆ  หอบหน่อยๆ ก็ใช้ได้แล้วครับ ถ้าหอบจนตัวโยน นั่นมากไปแล้วครับ  ต้องผ่อนแรงลงก่อนที่จะเกิดหน้ามืดไปซะก่อนนะครับ

        ไว้พบกันคราวหน้านะครับ

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>